• 00
  • :
  • 00
  • :
  • 00
  • 00
  • :
  • 00
  • :
  • 00
  CALC  

การตรวจสอบพื้นผิวที่ลาดชัน
บทนำ

เมื่ออ่านบทนำแล้ว ให้คลิกที่ลูกศรถัดไป

การตรวจสอบพื้นผิวที่ลาดชัน

นักเรียนกลุ่มหนึ่งสังเกตเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนของพืชที่ขึ้นบนพื้นที่ลาดชันสองด้านของหุบเขาแห่งหนึ่ง โดยบนพื้นที่ลาดชัน A พืชจะมีสีเขียวกว่า และมีจำนวนมากกว่าในพื้นที่ลาดชัน B ความแตกต่างนี้ แสดงในภาพประกอบทางด้านขวา

นักเรียนได้ตรวจสอบว่าเพราะเหตุใดพืชที่อยู่บนพื้นที่ลาดชันหนึ่งจึงมีความแตกต่างกับอีกพื้นที่หนึ่ง ส่วนหนึ่งของการตรวจสอบนี้ นักเรียนได้ตรวจวัดปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม สามปัจจัยตลอดช่วงเวลาที่ศึกษา ได้แก่

  • รังสีจากดวงอาทิตย์: แสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังบริเวณที่ศึกษามีปริมาณเท่าใด
  • ความชื้นในดิน: ดินในบริเวณที่ศึกษามีความชุ่มชื้นเพียงใด
  • ปริมาณฝน: ปริมาณฝนที่ตกในบริเวณที่ศึกษามีมากน้อยเท่าใด
พื้นที่ลาดชัน A
พื้นที่ลาดชัน B
จากเรื่อง “การเก็บรวบรวมข้อมูล” ทางด้านขวา ให้พิมพ์
คำตอบของนักเรียนเพื่อตอบคำถาม

ในการตรวจสอบความแตกต่างของพืชระหว่างพื้นที่ลาดชันหนึ่งกับอีกพื้นที่ลาดชันหนึ่ง เพราะเหตุใดนักเรียนจึงวางเครื่องมือชนิดละสองชิ้นลงบนแต่ละพื้นที่ลาดชัน

 
การตรวจสอบพื้นผิวที่ลาดชัน
การเก็บรวบรวมข้อมูล

นักเรียนวางเครื่องมือสามชนิดต่อไปนี้ ลงบนแต่ละพื้นที่ลาดชัน จำนวนชนิดละสองชิ้น ดังแสดงข้างล่าง

เครื่องตรวจวัดรังสีจากดวงอาทิตย์: ตรวจวัดปริมาณแสงอาทิตย์ ในหน่วย เมกะจูลต่อตารางเมตร (MJ/m2)
เครื่องตรวจวัดความชื้นในดิน: ตรวจวัดปริมาณน้ำ คิดเป็นร้อยละของปริมาตรดิน
เครื่องวัดปริมาณฝน: ตรวจวัดปริมาณฝน ในหน่วยมิลลิเมตร (mm)
พื้นที่ลาดชัน A
พื้นที่ลาดชัน B