00
:
00
:
00
00
:
00
:
00
CALC
1
1
2
2
ออกจากการทำโจทย์
เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่
บทนำ
ในการตอบคำถามเรื่อง "เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่" นักเรียนต้องอ่านบทความที่อยู่ทางด้านขวา
อ่านหน้า 1
ให้คลิกเลข 2 เพื่ออ่านหน้า 2
แล้วคลิกที่ลูกศรถัดไป เพื่อดูคำถามแรก
เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่
บทบรรณาธิการ
เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่
วิทยาศาสตร์ได้ก้าวล้ำหน้ากฎหมายและ จริยธรรม มันเกิดมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1945 เมื่อมีการทำลายล้างชีวิตมนุษย์ด้วยระเบิดปรมาณู และทุกวันนี้มีวิทยาการใหม่ที่เกิดขึ้นคือ การสร้างชีวิตด้วยวิธีนอกเหนือธรรมชาติสำหรับบุคคลที่เป็นหมัน
เราส่วนใหญ่คงจำได้ถึงความยินดีกับครอบครัว บราวน์ ชาวอังกฤษที่เด็กหลอดแก้วคนแรกถือกำเนิดขึ้น และเมื่อเร็วๆ นี้ มีเด็กที่เกิดจากตัวอ่อนแช่แข็งรอการฝังในครรภ์ของหญิงที่จะมาเป็นแม่
เรื่องที่ปลุกกระแสการคัดค้านเชิงกฎหมายและจริยธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากกรณีตัวอ่อนแช่แข็ง 2 ตัว ในประเทศออสเตรเลีย ตัวอ่อนนี้เตรียมไว้สำหรับฝากในครรภ์ของเวลซา ริโอส์ ภรรยาของมาริโอ ริโอส์ ตัวอ่อนแรกได้รับการฝัง เพื่อให้เติบโตในครรภ์ของ เวลซา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ สามีภรรยาคู่นี้ต้องการแก้ตัวใหม่ แต่ก่อนที่ทุกอย่างจะดำเนินไปตามแผน ทั้งคู่ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียก่อน
โรงพยาบาลของออสเตรเลียจะทำอย่างไรกับตัวอ่อนที่เหลือ ควรจะฝากในครรภ์หญิงอื่นหรือไม่ ซึ่งมีหญิงจำนวนมากอาสาเป็นแม่ให้ แต่ตัวอ่อนนี้จะมีสิทธิในทรัพย์สินของริโอส์หรือไม่ หรือตัวอ่อนควรถูกทำลายไปเท่าที่ทราบกัน สามีภรรยาคู่นี้มิได้แจ้งความจำนงใดๆ ถึงอนาคตของตัวอ่อนนี้
ชาวออสเตรเลีย ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาเฉพาะกรณีนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กรรมการรายงานว่าตัวอ่อนควรถูกสลายไป เพราะมีข้อกฎหมายระบุว่าผู้รับบริจาคตัวอ่อนจากผู้อื่นต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของก่อน สำหรับในกรณีนี้ไม่มีคำยินยอมใดจากเจ้าของเดิม คณะกรรมการยังพิจารณาอีกว่าสภาพของตัวอ่อนขณะนี้ไม่มีชีวิตและไม่มีสิทธิ์ใดๆ จึงควรทำลายเสีย
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการชุดนี้คำนึงถึงข้อกฎหมายและพื้นฐานทางจริยธรรม จึงให้เวลาอีก 3 เดือน เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชน ถ้ามีเสียงคัดค้านการทำลายตัวอ่อนมาก คณะกรรมการจะนำข้อพิจารณามาทบทวนอีกครั้ง
ปัจจุบันหากมีคู่สามีภรรยาใดสมัครใจใช้วิธีแช่แข็งตัวอ่อนที่โรงพยาบาลควีนวิคตอเรียในซิดนีย์ จะต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกับตัวอ่อนหากมีอะไรไม่คาดคิดเกิดกับคู่สามีภรรยานั้น
ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดกรณีซ้ำรอยแบบคู่ของริโอส์อีก แต่ยังมีปัญหาที่ยุ่งยากอื่นๆ อะไรอีก เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ฝรั่งเศสมีหญิงสาวขึ้นศาลเพื่อขออนุญาตให้เธอกำเนิดลูกจากเสปิร์มแช่แข็งของสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว ควรทำอย่างไรกับคำขอนี้ หรือจะทำอย่างไรหากแม่ที่รับฝากทารกในครรภ์เกิดเปลี่ยนใจไม่ยอมคืนทารกตามสัญญารับฝากทารกในครรภ์ที่ทำไว้
สังคมของเราทุกวันนี้ล้มเหลวในการใช้ กฎระเบียบ เพื่อควบคุมการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาของพลังนิวเคลียร์ที่ใช้ทำลายล้างกัน เราจะต้องเผชิญกับฝันร้ายอย่างหนักหน่วงกับความล้มเหลวนั้น โอกาสที่จะนำความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ไปใช้ในทางที่ผิดจะมีขึ้นมากมายอย่างชัดเจน จึงต้องมีการจำกัดขอบเขตทางด้านกฎหมายและ จริยธรรมก่อนที่เราจะไปกันไกลเกินไป
เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่
คำถามที่ 1 / 2
จากเรื่อง "เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่" ทางด้านขวา ให้พิมพ์คำตอบของนักเรียนเพื่อตอบคำถาม
จงเลือกประโยคที่อธิบายสิ่งที่ชาวออสเตรเลียได้ดำเนินการ เพื่อช่วยตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สามีภรรยา ที่ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก
เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่
บทบรรณาธิการ
เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฎใหม่
วิทยาศาสตร์ได้ก้าวล้ำหน้ากฎหมายและ จริยธรรม มันเกิดมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1945 เมื่อมีการทำลายล้างชีวิตมนุษย์ด้วยระเบิดปรมาณู และทุกวันนี้มีวิทยาการใหม่ที่เกิดขึ้นคือ การสร้างชีวิตด้วยวิธีนอกเหนือธรรมชาติสำหรับบุคคลที่เป็นหมัน
เราส่วนใหญ่คงจำได้ถึงความยินดีกับครอบครัว บราวน์ ชาวอังกฤษที่เด็กหลอดแก้วคนแรกถือกำเนิดขึ้น และเมื่อเร็วๆ นี้ มีเด็กที่เกิดจากตัวอ่อนแช่แข็งรอการฝังในครรภ์ของหญิงที่จะมาเป็นแม่
เรื่องที่ปลุกกระแสการคัดค้านเชิงกฎหมายและจริยธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากกรณีตัวอ่อนแช่แข็ง 2 ตัว ในประเทศออสเตรเลีย ตัวอ่อนนี้เตรียมไว้สำหรับฝากในครรภ์ของเวลซา ริโอส์ ภรรยาของมาริโอ ริโอส์ ตัวอ่อนแรกได้รับการฝัง เพื่อให้เติบโตในครรภ์ของ เวลซา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ สามีภรรยาคู่นี้ต้องการแก้ตัวใหม่ แต่ก่อนที่ทุกอย่างจะดำเนินไปตามแผน ทั้งคู่ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียก่อน
โรงพยาบาลของออสเตรเลียจะทำอย่างไรกับตัวอ่อนที่เหลือ ควรจะฝากในครรภ์หญิงอื่นหรือไม่ ซึ่งมีหญิงจำนวนมากอาสาเป็นแม่ให้ แต่ตัวอ่อนนี้จะมีสิทธิในทรัพย์สินของริโอส์หรือไม่ หรือตัวอ่อนควรถูกทำลายไปเท่าที่ทราบกัน สามีภรรยาคู่นี้มิได้แจ้งความจำนงใดๆ ถึงอนาคตของตัวอ่อนนี้
ชาวออสเตรเลีย ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาเฉพาะกรณีนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กรรมการรายงานว่าตัวอ่อนควรถูกสลายไป เพราะมีข้อกฎหมายระบุว่าผู้รับบริจาคตัวอ่อนจากผู้อื่นต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของก่อน สำหรับในกรณีนี้ไม่มีคำยินยอมใดจากเจ้าของเดิม คณะกรรมการยังพิจารณาอีกว่าสภาพของตัวอ่อนขณะนี้ไม่มีชีวิตและไม่มีสิทธิ์ใดๆ จึงควรทำลายเสีย
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการชุดนี้คำนึงถึงข้อกฎหมายและพื้นฐานทางจริยธรรม จึงให้เวลาอีก 3 เดือน เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชน ถ้ามีเสียงคัดค้านการทำลายตัวอ่อนมาก คณะกรรมการจะนำข้อพิจารณามาทบทวนอีกครั้ง
ปัจจุบันหากมีคู่สามีภรรยาใดสมัครใจใช้วิธีแช่แข็งตัวอ่อนที่โรงพยาบาลควีนวิคตอเรียในซิดนีย์ จะต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกับตัวอ่อนหากมีอะไรไม่คาดคิดเกิดกับคู่สามีภรรยานั้น
ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดกรณีซ้ำรอยแบบคู่ของริโอส์อีก แต่ยังมีปัญหาที่ยุ่งยากอื่นๆ อะไรอีก เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ฝรั่งเศสมีหญิงสาวขึ้นศาลเพื่อขออนุญาตให้เธอกำเนิดลูกจากเสปิร์มแช่แข็งของสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว ควรทำอย่างไรกับคำขอนี้ หรือจะทำอย่างไรหากแม่ที่รับฝากทารกในครรภ์เกิดเปลี่ยนใจไม่ยอมคืนทารกตามสัญญารับฝากทารกในครรภ์ที่ทำไว้
สังคมของเราทุกวันนี้ล้มเหลวในการใช้ กฎระเบียบ เพื่อควบคุมการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาของพลังนิวเคลียร์ที่ใช้ทำลายล้างกัน เราจะต้องเผชิญกับฝันร้ายอย่างหนักหน่วงกับความล้มเหลวนั้น โอกาสที่จะนำความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ไปใช้ในทางที่ผิดจะมีขึ้นมากมายอย่างชัดเจน จึงต้องมีการจำกัดขอบเขตทางด้านกฎหมายและ จริยธรรมก่อนที่เราจะไปกันไกลเกินไป